วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 9 E-Government


บทที่ 9 E-Government


 ความหมายของ E-Government

 
      e-government  หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็น  แนวทาง 4 ประการคือ
 
                   1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน

                   2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น

                   3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน

                   4 .มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

          e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ รวมทั้งองค์ความรู้ของ

             หน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาค

           ธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั้นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ ecommerceมาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้น การดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย

      หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C   ระบบต้องมีความมั่น คงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
 
1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
     เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
 
2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
      เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
 
3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
      เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดย
กระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchan)ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม
 
4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
      เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee)กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

บทที่ 8 E-marketing


บทที่ 8 E-marketing

E-Marketing

 
      ย่อมาจากคำว่า  Electronic  Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง               การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง

 
 

ข้อดีของ E-Marketing เมื่อเทียบกับสื่ออื่น

  
   1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้านคน 225 ประเทศ104 ภาษาอื่น
   2 .สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
   3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมือเทียบกับสืออืน
   4. จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
   5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น


การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์

        1. กาหนดเป้าหมาย
        2. ศึกษาคู่แข่ง
        3. สร้างพันธมิตร
        4. ติดตั้งอุปกรณ์ที่จําเป็ น
        5. ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์


Search Engine Marketing

       รูปแบบของ Search Engine
         - Natural Search Engine Optimization (SEO)
         - Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)


E-Mail Marketing การตลาดผ่านอีเมล์

        1. สร้าง Mail Marketing ของตัวเอง
        2. ไปยืมรายชื่อคนอื่นๆส่ง BlanketMail.com, Briefme.com, Colonize.com, MailCreations.com, TargetMails.com
        3. ยิงมั่ว หรือ SPAM
        4. ไปดูด Email จากแหล่งต่าง website, search engines, who is database

วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online


       -  ส่ง MSN, ICQ หาเพื่อนๆ แล้วให้ส่งต่อ
       - โปรโมตธุรกิจบนเว็บบอร์ดหรือ Community ต่างๆ



รูปแบบรายได้จากการทําเว็บไซต์


       1. ขายโฆษณาออนไลน์
       2. ขายสินค้า E-Commerce
       3. ขายบริการหรือสมาชิก
       4. ขายข้อมูล (Content)
       5. การจัดกิจกรรม, งาน
       6. การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
       7. การรับพัฒนาเว็บไซต์

 

บทที่ 7 Supply Chain Management Enterprise Resource Planning Customer Relation Management


บทที่ 7 Supply Chain Management Enterprise Resource Planning Customer Relation Management


 Supply Chain Management


          ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบสินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ



ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน

ระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ


ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน 
           เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั่งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทำงานเป็ นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน



ระยะที่ 2 องค์ที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน
           ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้น



ระยะที่ 3 องค์ที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน
             ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื��องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั้นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็ นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง



ระยะที่ 4  องค์กรที่รวมการดำเนินการภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน
              ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน


ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน

   1. ปัญหาจากการพยากรณ์การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็ นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น
   2. ปัญหาในกระบวนการผลิตปัญหาที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทำให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร
   3. ปัญหาด้านคุณภาพปัญหาด้านคุณภาพอาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มีคุณภาพ

สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้เช่นกัน

   4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้าการส่งมอบที่ล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่ิองของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป
   5. ปัญหาด้านสารสนเทศสารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึ้นมีหลายประการ
เช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การกำหนดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ
   6. ปัญหาจากลูกค้าปัญหาที่เกิดจากลูกค้าเป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน เช่น ลูกค้ายกเลิกคำสั่งในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้


การใช้ซอฟแวร์  Appliation SCM

     การนำซอฟแวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็น ซอฟแวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า 
     Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฎเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด 
     Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการ สื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้นซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP หลักๆ มีอยู่ 5 รายด้วยกัน คือ SAP, ORACLE, Peoplesoft, J.D. Edwards และ Baan

######################################################################

คำถามท้ายบท
The Minor Group นำเอาเทคโนโลยีอะไรมาช่วยในการบริหารจัดการ
ตอบ The Minor Group นำเอากลยุทธ์ Supply Chain Management มาช่วยในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย 4 ระบบหลักๆ ได้แก่


1. ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
     เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ด้วยการใช้สารสนเทศระหว่างพนักงานขายและฝ่ายปฏิบัติงาน ซึ่งสารสนเทศหลักประกอบด้วย ประวัติการขาย การจัดส่ง สถานะคำสั่งซื้อ เป็นต้น โดยสารสนเทศดังกล่าวจะช่วยให้ระบบ CRM สามารถคาดการณ์ความต้องการลูกค้าและการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งระบบ
ERP ที่ ไมเนอร์ กรุ๊ป เลือกนำมาใช้ คือ โปรแกรม ORACLE ซึ่งเป็นโปรแกรมที่รวบรวมงานหลักต่างๆ ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารงานบุคคล เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่าง Real-Time ผ่านการเชื่อมต่อกับเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
2 ระบบ POS (Point of Sale)
3. ระบบ Barcode
      ทุกครั้งทีมีการซื้อขายหน้าร้านทุกสาขาทั่วประเทศ ระบบ POS ของแต่ละสาขาจะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อทางสำนักงานใหญ่รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าต่างๆของแต่ละสาขาแล้ว จะทำการเปิดใบสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ผ่านระบบออนไลน์ให้กับซัพพลายเออร์รายย่อย และส่งให้ทางซัพพลายแออร์ผู้ผลิตและจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า ก่อนที่ศูนย์กระจายสินค้าจะทำหน้าที่คัดแยกสินค้าและจัดส่งไปยังสาขาทั่วประเทศ โดยสินค้านั้นจะใช้ Barcode เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า เพราะจะทำให้บริษัททราบถึงข้อมูลรายละเอียดสินค้าผ่านรหัสใน Barcode  
4. ระบบ CRM (Customer Relationship Management)
เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนำมาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุนโดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management ผ่านการจัดโปรแกรม เพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคำถาม (call center) การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น  

 




บทที่ 6 Supply chain management ส่วนที่2


การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน LOGO
(Supply Chain Integration)

         การบูรณาการกระบวนการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย และมีความยืดหยุ่น ใช้นโยบายการทำงานแบบข้ามสายงาน ลดกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
      การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก นั่นคือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญและผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่น และ รวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนลดตํ่าลง
       การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนและประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กรเป็นไปอย่าง ถูกต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ




ตัวอย่าง
การนำ Value Chain มาวิเคราะห์เพื่อนำ IT มาบูรณาให้กับองค์กร





การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain

          การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ผลิต (Supplier) , ผู้จัดจำหน่าย (Distributor) และลูกค้า (Customer)ส่วนกลยุทธ์ทางด้าน Supply Chian นั้นได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-In Customer หรือ Lock-In Supliers เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching cost) มีสูงขึ้น



ตัวอย่างของการนำสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
          บริษัท UPS (United Parcel Service) บริษัทยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของโลกในด้านการจัดส่งพัสดุทางบก ใช้คอมพิวเตอร์ Hand-held Computer
บันทึกข้อมูลลายเซ็นลูกค้าเวลาที่รับหีบห่อและเวลาที่ส่งหีบห่อ จากนั้นส่งผ่านข้อมูล โดยผ่านระบบเครือข่ายของโทรศัพท์ไร้สายหรือ Cellular Telephone Network ภายในรถไปยังคอมพิวเตอร์หลักของบริษัทที่ตั้งอยู่ทั่วโลก ทำให้สามารถทราบได้ว่าพัสดุอยู่ที่ไหน
ซึ่งระบบนี้จะใช้ Bar Code บันทึกข้อมูลหีบห่อที่รับและส่ง เพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ทำให้ฝ่ายขายสามารถตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับพัสดุได้ และลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นได้เองทางระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่6 Supply chain management ส่วนที่1

บทที่6 Supply chain management
  
      การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นเป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จึนกระทั้งส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า





เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ 
  1. วัตถุดิบ
  2. สารสนเทศ
ประโยชน์ของการทำ SCM



  • การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบ และสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
  • ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
  • เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
  • ขจัดความสิ้นเปลื่อง หรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
  • ลดต้นในกิจกรรมต่างๆ ได้
  • ปรับปรุงการบริการลูกค้า

  • การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration)

            การบูรณาการกระบวนการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย และมีความยืดยืดหยุ่น ใช้นโยบายการทำงานแบบข้ามสายงาน ลดกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
            การบูรณาการกระบวนภายนอก คือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญ และผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำตัญให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บ จะส่งผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่น และรวดเร็วขณะที่ต้นทุนลดต่ำลง
            การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร และสารสนเทศ เพื่อให้การแลกเปลี่ยน และประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร และระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

    การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
           Supply Chain Management คือ การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ผลิต (Supplier) ผู้จัดจำหน่าย (Distributor) และลูกค้า (Customer)
           กลยุทธ์ทางด้าน Supply Chain ได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-in Customers หรือ Lock-in Suppliers เพื่อให้เิกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching Cost)

    วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    บทที่ 5 - E-Commerce

    บทที่ 5 - E-Commerce


    ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Business
         คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่าย ที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม Internetworked Network ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

     พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce
          คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้

    E-Business
         คือ การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้า และลูกค้าให้ตรงใจและรวดเร็ว เพื่อลดต้นทุนและขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ

    E-Commerce
           คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุหรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้



    E-Commerce Framework ประกอบด้วย 4 ส่วน
    1. การประยุกต์ใช้ E-Commerce Application
    2. โครงสร้างพื้นฐาน E-Commerce Infrastructure
    3. การสนับสนุน E-Commerce Supporting
    4. การจัดการ E-Commerce Management

    E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจ
          แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Add ให้กับสินค้าและบริการ
    วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมา เพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
     
    ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
          ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน), และ Business Online (ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอม
    ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
          ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้), Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า
    ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
         ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้า
    ส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และPriceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง คือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน
    ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
           ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ในกรณีศึกษา ได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker)

    ข้อดีและข้อเสียของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ข้อดี
    1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
    3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
    4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
    5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
    6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
    7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
    8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
     
    ข้อเสีย
    1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
    2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
    3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
    4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
    5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน